วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบชั้น ม.3

แบบทดสอบเรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน 20 ข้อ
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน 20 ข้อ
โดย ครูแสงสว่าง เข็มทิพย์ โรงเรียนชุมชนบ้านบุสามัคคีพัฒนา สพป.นม.2
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
พุทธจริยาอันเกี่ยวกับการอนุเคราะห์ชาวโลกนั้น พุทธกิจข้อใดมีความสำคัญกับชาวโลกมากที่สุด
   ทรงตอบปัญหาเทวดา
   เสด็จดำเนินจงกรม
   ให้สาวกทูลถามผปัญหา
   โปรดสัตว์

ข้อที่ 2)
พระพุทธรูปปาางห้ามญาติเป็นหลักฐานแสดงพุทธจริยาด้านใด
   โลกัตถจริยา
   พุทธัตถจริยา
   ญาตัตถจริยา
    ภัตตถจริยา

ข้อที่ 3)
บุคคลที่ฟังธรรมโดยย่อ แล้วเข้าใจทันทีเปรียบได้กับบัวเหล่าใด
   ปทปรมะ
   วิปจิตัญญู
   อุคฆฎิตัญญู
   เนยยะ

ข้อที่ 4)
ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร มีความหมายใกล้เคียงกับข้อใด
   ทางสุดโต่ง
   ทางสายกลาง
   ทางที่หย่อน
    ทางโค้ง

ข้อที่ 5)
ธรรมใดเป็นธรรมคุ้มครองโลก
   ขันติ โสรัจจะ
   สติ สัมปชัญญะ
   ปุคคลัญญุตา
   หิริ โอตัปปะ

ข้อที่ 6)
สติ สัมปชัญญะ มีความหมายตรงกับข้อใด
   ธรรมมีอุปการะมาก
   ธรรมที่ทำให้งาม
   ธรรมของคนดี
   ธรรมคุ้มครองโลก

ข้อที่ 7)
หลักธรรมที่จะช่วยสร้างให้สมาชิกของสังคมเกิดมิตรภาพมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อ ควรใช้หลักธรรมใด
   สังคหวัตถุ 4
   พรหมวิหาร 4
   อิทธิบาท 4
   ฆราวาสธรรม 4

ข้อที่ 8)
ผู้บังคับหัวหน้าควรยึดหลักธรรมใด
   พละ 4
   อบายมุข 4
   พรหมวิหาร 4
   ทิศ 6

ข้อที่ 9)
บุคคลที่ถึงพร้อม พูดดี คิดดี ทำดี แสดงว่ายึดหลักธรรมใด
   กุศลกรรม
   สาราณียกรรม 6
   วุฒิธรรม 6
   ครุธรรม

ข้อที่ 10)
หลักธรรมที่สอดคล้องกันระหว่าง สันโดษกับปุริสธรรม คือ
   กาลัญญุตา
   มัตตัญญุตา
   ธัมมัญญุตา
   อัตตัญญุตา

ข้อที่ 11)
หลักธรรมจักร 4 มีความหมายอย่างไร
   พาหนะนำไปสู่ความเจริญ
   ล้อรถที่ช่วยกำจัดหมู่มาร
   สัญลักษณ์แทนพระวิษณุ
   ธรรมะที่ว่าด้วยการหมุนเวียน

ข้อที่ 12)
ถ้านักเรียนเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว นักเรียนควรตั้งในสถานที่ใด จึงจะจัดว่าใช้หลักปฏิรูปเทสวาสะ
   ใกล้สวนผัก
   ในย่านชุมชน
   ใกล้โรงงานชำแหละเนื้อหมู
   ใกล้โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยว

ข้อที่ 13)
ทิฏฐธัมมิกัตถะ มีความหมายตรงกับข้อใด
   ธรรมที่ไม่ให้ผล
   ธรรมที่ให้ผลในอดีต
   ธรรมที่ให้ผลในอนาคต
   ธรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน

ข้อที่ 14)
คำกล่าวที่ว่า ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยันมีความหมายตรงกับข้อใด
   สมชีวิตา
   อุฏฐานสัมประทา
   อารักขสัมปทา
   กัลยาณมิตตตา

ข้อที่ 15)
การใช้จ่ายทรัพย์ตามสมควรแก่ฐานะ ตรงกับคำพังเพยใด
   ขี่ช้างจับตั๊กแตน
   เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
   นกน้อยทำรังแต่พอตัว
   เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

ข้อที่ 16)
ข้อใดอธิบายความหมายของสัปปุริสธรรมได้ถูกต้อง
   ธรรมสำหรับคนสับปลับ
   ธรรมสำหรับสุภาพบุรุษ
   ธรรมที่นำไปสู่สัมปรายภพ
   ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติของคนดี

ข้อที่ 17)
สมชายรู้สึกตัวว่าสติปัญญาไม่ค่อยดี จึงเลือกเรียนสายอาชีวะ แสดงว่าสมชายปฏิบัติตนตามหลักธรรมใด
   รู้จักผล
   รู้จักเหตุ
   รู้จักตน
   รู้จักกาลเวลา

ข้อที่ 18)
ข้อใดเป็นความหมายของมรรคมีองค์ 8 ได้ถูกต้อง
   ทางดับทุกข์มี 8 ทาง
   ทางอันประเสริฐมี 8 ทาง
   ทางไปสู่ความสำเร็จมี 8 ทาง
   ทางอันประเสริฐมีองค์ประกอบ 8 ประการ

ข้อที่ 19)
บุคคลใด ไม่ ปฏิบัติตนตามหลักสัมมาวาจา
   แก้ม เล่านิทานอีสปให้น้อง ๆ ฟัง
   น้ำ อธิบายโจทย์คณิตศาสตร์ให้เพื่อน ๆ ฟัง
   หมู เล่าเหตุการณ์ที่ถูกลวนลามให้ตำรวจ
   หมี เล่าความฝันให้เพื่อนฟังขณะที่ครูกำลังสอนอยู่หน้าชั้น

ข้อที่ 20)
ปุ้ม เป็นคนมีอารมณ์โกรธรุนแรง มักทำร้ายผู้ที่ทำให้โกรธโดยไม่รู้ตัว ถ้าปุ้มต้องการแก้ไขปัญหานี้ ปุ้มควรยึดหลักธรรมใด
   สัมมาสติ
   สัมมาวาจา
   สัมมาอาชีวะ
   สัมมาสังกัปปะ


แบบทดสอบชั้น ม.2

แบบทดสอบเรื่อง อาเซียน จำนวน 20 ข้อ
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง อาเซียน จำนวน 20 ข้อ
โดย ครูแสงสว่าง เข็มทิพย์ โรงเรียนชุมชนบ้านบุสามัคคีพัฒนา
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการร่วมกลุ่มของอาเซียน
   เพื่อพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
   เพื่อร่วมกันต่อต้านการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ
   เพื่อส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง
   เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศ

ข้อที่ 2)
สัญลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร
   รวงข้าว 10 รวง
   รวงข้าว 11 รวง
   ต้นข้าว 10 ต้น
   ต้นข้าว 11 ต้น

ข้อที่ 3)
บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งอาเซียนแรกเริ่มคือใคร
   ดร.ถนัด คอมันต์
   นายศุภชัย พานิชยศักดิ์
   ดร.มหาเดย์ มูฮัมหมัด
   ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

ข้อที่ 4)
ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค
   เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีการค้าอย่างเสรีมากขึ้น
   เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำสินค้าของประเทศตนมาขายมากขึ้น
   เพื่อให้ประเทศสมาชิกติดต่อค้าขายกันได้ง่ายขึ้น
   เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันต่อต้านสินค้าของประเทศนอกกล่ม

ข้อที่ 5)
การประชุมประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเรียกว่า อะไร?
   การประชุมอาเซียนซัมมิท
   การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
    การจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก
   การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม

ข้อที่ 6)
ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN)
   Asia South East Association Nations
   Association for South East Asian Nations
   Asia South East Association National
   Association for South East Asian National

ข้อที่ 7)
สมาชิกอาเซียนมีกี่ประเทศ
   10 ประเทศ
   11 ประเทศ
   13 ประเทศ
   15 ประเทศ

ข้อที่ 8)
อาเชียน บวก 3 มีตัวย่อว่าอย่างไร
   APT
   AST
   ATS
   ATP

ข้อที่ 9)
อาเซียนมี 3 เสาหลัก ยกเว้นข้อใด
   ประชาคมการเมืองอาเซียน
   ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
   ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

ข้อที่ 10)
ต้นเหตุการณ์กำเนิดอาเชียน ข้อใดไม่ใช่
   ปัจจัยทางการเมือง – กระบวนการให้ เอกราช/การปลดปล่อย (decolonization process)
   การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
   สงครามเย็น
   การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ

ข้อที่ 11)
ข้อใดเป็นผลความร่วมมือของอาเซียน
   เขตการลงทุนอาเซียน
   เขตการค้าเสรีอาเซียน
   ความร่วมมือด้านบริการของอาเซียน
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 12)
เริ่มแรก อาเซียน (ASEAN)จัดตั้งโดยประเทศสมาชิก กี่ประเทศ
   4 ประเทศ
   5 ประเทศ
   7 ประเทศ
   9 ประเทศ

ข้อที่ 13)
ข้อใดจัดเป็นกลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
   ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม
   สิงคโปร์ พม่า มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย
   ไทย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน
   ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

ข้อที่ 14)
ASEAN + 3 คือข้อใด
   ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – อินเดีย
   ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – นิวซีแลนด์
   ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – จีน
   ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – ออสเตรเลีย

ข้อที่ 15)
ประเทศใดไม่ใช่กลุ่มสมาชิกอาเซียน
   เมียนมาร์
   สิงคโปร์
    เวียดนาม
    ติมอร์-เลสเต

ข้อที่ 16)
ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดของอาเซียนคือ
   อินโดนีเซีย
   เมียนมาร์
   กัมพูชา
   เวียดนาม

ข้อที่ 17)
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
   มีการกำหนดเขตการค้าเสรีในอาเซียน
   เศรษฐกิจหลักในอาเซียนคือ เกษตรกรรม
   อาเซียนมุ่นเน้นพัฒนาเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว
   สมาชิกอาเซียนคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อที่ 18)
AFTA เกี่ยวข้องกับข้อใด
   เขตการค้าเสรี
   เขตปกครองพิเศษ
   เขตส่งเสริมการท่องเทียว
   เขตพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ

ข้อที่ 19)
ข้อใดเป็นความสำคัญของไทยที่มีต่ออาเซียน
   เป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน
   เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน
    เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่อาเซียน
   เป็นตัวแทนติดต่อค้าขายกับตะวันตก

ข้อที่ 20)
ข้อใดเป็นประโยชน์ของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
   เปลี่ยนมาใช้เงินตราสกุลเดียวกัน
   ทำให้นักลงทุนไม่กล้ากักตุนสินค้า
   มีอำนาจต่อรองทางการค้ากับต่างชาติเพิ่มขึ้น
   ทำให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิ์ในการลงทุนมากกว่าต่างชาติ

ข้อที่ 21)
ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN)
   อาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   อาเซียนมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพื่อให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพแสรีภาพ และความเป็นกลาง
   อาเซียนประสบความสำเร็จในการขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและลดการค้ากับประเทศนอกภูมิภาค
   อาเซียนประสบความสำเร็จในการยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค

ข้อที่ 22)
เพลงประจำอาเซียนคือเพลงอะไร
   Sorry Sorry
   Asian Games
   Asia air
   The ASEAN Way

ข้อที่ 23)
คำขวัญของอาเซียนคือข้อใด
    หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม
   หนึ่งประชาคม หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งเศรษฐกิจ
   หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม หนึ่งวิสัยทัศน์
   หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาชาติ

ข้อที่ 24)
ข้อใดกล่าวถึงลักสัญลักษณ์อาเซียนได้ถูกต้อง
   ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความมั่นคงและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
   ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
   ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
   ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพ

ข้อที่ 25)
ข้อใดกล่าวถึงสีของสัญลักษณ์อาเชียนไม่ถูกต้อง
   สีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
   สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
   สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
   สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ข้อที่ 26)
สำนักงานใหญ่ของอาเซียนอยู่ที่เมืองใด
    กรุงเทพ
   ฮานอย
   กรุงจาการ์ตา
   กัวลาลัมเปอร์

ข้อที่ 27)
เลขาธิการสมาคมอาเซียนคือใคร
   นายอภิสิทธิ เวชาชีวะ
   ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
   มหาเธร์ มูฮัมหมัด
   ซูซิโล บัมบัง ยุดโฮโยโน

ข้อที่ 28)
คนไทยคนแรกที่ได้เป็นเลขาธิการสมาคมอาเชียนคือใคร
   แผน วรรณเมธี
    นายชวน หลีกภัย
   ดร.ถนัด คอมันต์
   นายจุรินทร์ พิสสุวรรณ

ข้อที่ 29)
ข้อใดเป็นความร่วมมือทางด้านสังคมในอาเซียน
   จัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
   จัดโครงการแรกเปลี่ยนผู้บริหารประเทศ
   ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย
   ชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ นับถือพุทธศาสนา

ข้อที่ 30)
ข้อใดเป็นคำทักทายของประเทศสิงคโปร์
   ซาลามัต เซีย
   หนีห่าว
   ซัวสเด
   มิงกาลาบา


แบบทดสอบชั้น ม.1

แบบทดสอบเรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา 30 ข้อ
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา 30 ข้อ
โดย ครูแสงสว่าง เข็มทิพย์ โรงเรียนชุมชนบ้านบุสามัคคีพัฒนา
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
1. การกระทำในข้อใดไม่หมายถึง กรรม
   เด็กชายวิษณุขุดบ่อน้ำไว้ใช้ มีไก่ตกลงไปตาย
   เด็กหญิงพวงบุพผาไปทำบุณตักบาตรกับพ่อทุกวันพระ
   เด็กชายสัชฌุกรชอบแกล้งเพื่อนในห้องเรียน
   เด็กหญิงณัฐริกาส่งภาพเข้าประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศ

ข้อที่ 2)
2. คำว่า “พุทฺโธ” แปลว่า เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หมายถึงข้อใด
   เป็นผู้สนุกสนานร่าเริง
   เป็นผู้มีอารมณ์ดีตลอดเวลา
   เป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส ไม่เศร้าหมอง
   เป็นผู้ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใด ๆ

ข้อที่ 3)
3. อบายมุข 6 เป็นสิ่งที่ควรละ ทั้งนี้เพราะสาเหตุต่อไปนี้ ยกเว้น
   เป็นสาเหตุแห่งทุกข์หรือสาเหตุแห่งปัญหา
   เป็นสาเหตุแห่งความเสื่อม
   เป็นสาเหตุแห่งความพินาศ ความย่อยยับ
   เป็นสาเหตุแห่งการแสวงหาความสุขทางกาย

ข้อที่ 4)
4. การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ข้อใดบ้างที่บรรลุประโยชน์สูงสุด
   วาจาชอบ การงานชอบ
   ประกอบอาชีพชอบ ความเพียรชอบ
   ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ
   ความเห็นชอบ ดำริชอบ

ข้อที่ 5)
5. คำว่า “อนุตฺตโร ปริสทมฺมสารถิ” เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ หมายความว่าอย่างไร
   ฝึกบุคคลอื่นให้เป็นสารถี
   ฝึกฝนบุรุษที่ฝึกได้ให้เป็นสารถี
   เป็นสารถีให้บุคคลอื่นได้ดี
   เป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม

ข้อที่ 6)
6. ในความสุข 4 ประการ (คิหิสุข) คือ ความสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์ การใช้จ่ายทรัพย์ ความไม่เป็นหนี้ และความสุขที่เกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ ท่านถือว่าความสุขที่เกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด
   เพราะบุคคลประพฤติที่ไม่มีโทษย่อมก่อให้เกิดความสุขอีก 3 ประการตามมา
   เพราะบุคคลประพฤติที่ไม่มีโทษแล้วย่อมเป็นบุคคลที่มีทรัพย์
   เพราะบุคคลประพฤติที่ไม่มีโทษย่อมไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์ ใช้จ่ายทรัพย์ และไม่เป็นหนี้
   เพราะบุคคลประพฤติที่ไม่มีโทษย่อมเป็นบุคคลที่ไม่มีหนี้

ข้อที่ 7)
7. คำว่า “อนาถบิณฑิกะ แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา” มีสาเหตุมาจากเรื่องใด
   อนาถบิณฑิกะถวายข้าวพระพุทธเจ้าเพียงก้อนเดียว
   อนาถบิณฑิกะให้ข้าวแก่ยาจกวณิพกเพียงก้อนเดียว
   อนาถบิณฑิกะตั้งโรงทานแก่ยาจกวณิพกเป็นประจำ
   อนาถบิณฑิกะวันหนึ่งทานข้าวเพียงก้อนเดียว

ข้อที่ 8)
8. พระพุทธคุณ 3 หมายถึงข้อใด
   พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ
   พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
   ศีล สมาธิ ปัญญา
   พระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ และพระมุทิตาคุณ

ข้อที่ 9)
9. ในส่วนของรูปขันธ์ มีธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ส่วนประกอบของธาตุดินคือข้อใด
   น้ำดี น้ำตา น้ำเลือด น้ำหนอง
   อุณหภูมิในร่างกาย
   ลมในท้อง ลมหายใจ
   ผม หนัง กระดูก เอ็น

ข้อที่ 10)
10. เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่พุทธศาสนิกชนจึงพึงระลึก และเคารพบูชาพระพุทธเจ้า
   เพราะทรงเป็นผู้มีพระพุทธคุณทั้ง 3
   เพราะเป็นผู้ที่ควรเคารพบูชา
   เพราะเป็นผู้มีความประพฤติดีประพฤติชอบ
   เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา

ข้อที่ 11)
11. พุทธสุภาษิตที่ว่า “ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ” ตรงกับหลักธรรมคู่ใด
   สติ – สมาธิ
   ปัญญา – กรรม
   สติ – ขันติ
   สติ – ปัญญา

ข้อที่ 12)
12. ข้อใดหมายถึง “รูปขันธ์”
   ประกอบไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก
   สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น
   ส่วนที่ประกอบจากวัตถุหรือสสารทั้งปวง
   สิ่งที่กำหนดรู้ในอารมณ์

ข้อที่ 13)
13. บุคคลมีพฤติกรรมใดต่อไปนี้ที่เข้าใจใน ธาตุ 4
   นายคนองไม่สนใจดูแลสภาพร่างกายของตนเอง
   นายณรงค์มีร่างกายที่อ้วนเกินไป ต้องลดน้ำหนัก โดยการอดอาหาร
   นางสาวเสาวนีย์เข้าไปใช้บริการสถานที่ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สมส่วน
   นางสาวเกศินีไม่วิตกกังวลกับรูปร่างของตนเอง ปล่อยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ

ข้อที่ 14)
14. พระภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติจนขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่อาบัติในข้อใด
   ปาราชิก
   สังฆาทิเสส
   ปาจิตตีย์
   ทุกกฎ

ข้อที่ 15)
15. คำว่า “อาบัติ” หมายถึงข้อใด
   ข้อห้าม
   การตักเตือน
   ข้อละเว้น
   การล่วงละเมิด

ข้อที่ 16)
16. “การให้พิจารณาถึงความเจ็บอยู่เสมอ” มีจุดประสงค์เพื่ออะไร
   เพื่อทำให้ไม่เป็นโรคต่าง ๆ
   เพื่อทำให้บรรเทาจากโรคต่าง ๆ
   เพื่อทำให้หมกมุ่นอยู่กับโรคต่าง ๆ
   เพื่อทำให้ระมัดระวังป้องกันโรคต่างๆ

ข้อที่ 17)
17. ทำไมคำว่า ทุกข์ จึงเป็น “ธรรมที่ควรรู้”
   เพราะควรศึกษาไว้ประดับความรู้
   เพราะเป็นต้นเหตุของการเกิดทุกข์หรือปัญหาทั้งปวง
   เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้
   เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา

ข้อที่ 18)
18. มรรคข้อใดบ้างที่จัดเข้าในศีลสิกขา
   วาจาชอบ ความเพียรชอบ ความเห็นชอบ
   วาจาชอบ การงานชอบ ประกอบอาชีพชอบ
   ความเพียรชอบ ระลึกชอบ การงานชอบ
   ความเห็นชอบ การงานชอบ ประกอบอาชีพชอบ

ข้อที่ 19)
19. เมื่อนักเรียนเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 แล้วจะทำให้เป็นคนเช่นไร
   ไม่หลงมัวเมา และยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ
   ไม่มีความรู้สึกในอารมณ์ต่าง ๆ
   ไม่ประพฤติดีไม่ประพฤติชั่ว
   ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

ข้อที่ 20)
20. จากปัญหาวิกฤติในสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด การพนัน โสเภณี ฯลฯ ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยของสังคม และไม่พัฒนาเท่าที่ควร นักเรียนคิดว่าน่าจะมาจากสาเหตุใด เป็นด้านหลัก
   รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ขาดคุณธรรมในการปกครอง
   คนไทยส่วนใหญ่หลงมัวเมาในอบายมุข
   คนไทยส่วนใหญ่ขาดความสามัคคีกัน
   มีการประพฤติทุจริตและคอรัปชั่นกันมาก

ข้อที่ 21)
21. นักเรียนต้องการศึกษาวินัยของพระภิกษุและภิกษุณี จะค้นหาจากพระไตรปิฎกหมวดใด
   พระวินัยปิฏก
   พระสุตตันตปิฎก
   พระอภิธรรมปิฏก
   พระธรรมปิฎก

ข้อที่ 22)
22. “จงเตือนตนด้วยตนเอง” หมายความว่าอย่างไร
   เตือนตนเองได้เท่านั้นคนอื่นเตือนไม่ได้
   จดบันทึกเตือนความจำของตนเองตลอดเวลา
   เตือนตนเองว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ
   หมั่นตรวจตราตนเองอยู่เสมอ

ข้อที่ 23)
23. “ความฉลาดในความเสื่อม” ในโกศล 3 หมายถึงข้อใด
   เป็นความฉลาดในการที่จะทำตนให้เสื่อม
   เป็นความฉลาดในการที่จะไม่ดำเนินชีวิตของตนไปในทางที่เสื่อม
   เป็นความฉลาดในการใช้กลอุบายให้ตนเองอยู่รอด
   เป็นความฉลาดให้ตนเองเจริญแต่คนทำคนอื่นให้เสื่อม

ข้อที่ 24)
24. ข้อใดคือความหมายของกรรมฐาน ที่ถูกต้อง
   เด็กชายดำฝึกอบรมจิตให้สงบ
   เด็กชายขาวมีจิตตั้งมั่น
   เด็กหญิงแดงฝึกนั่งสมาธิ
   เด็กเขียวฝึกเดินจงกรม

ข้อที่ 25)
25. “การปฏิบัติเช่นไรย่อมได้รับผลของการปฏิบัติเช่นนั้น” หมายถึงข้อใด
   ปริยัติ
   ปฏิบัติ
   ปฏิเวธ
   ปฏิสัมพันธ์

ข้อที่ 26)
26. คำว่า ปธาน จัดอยู่ในมรรคข้อใดในมรรคมีองค์ 8
   ประกอบอาชีพชอบ
   ความเพียรชอบ
   ตั้งจิตมั่นชอบ
   ความเห็นชอบ

ข้อที่ 27)
27. ข้อใดตรงกับความหมายของคำว่า “บัณฑิต” มากที่สุด
   ทำดี พูดดี คิดดี
   เฉลียวฉลาด
   แก้ปัญหาได้อย่างแยบคาย
   วางแผนได้อย่างแยบคาย

ข้อที่ 28)
28. ในมรรคมีองค์ 8 ข้อใดที่ถือว่าสำคัญที่สุด และเป็นส่วนนำที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมข้ออื่น ๆ
   สัมมาสังกัปปะ
   ดำริชอบ
   สัมมาวายามะ
   ความเพียรชอบ

ข้อที่ 29)
29. ข้อใดเป็น “อกุศลกรรม”
   เด็กชายคัมภีร์ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ มีไก่ตกลงไปตาย
   เด็กหญิงอำไพพรรณไปทำบุณตักบาตรกับพ่อทุกวันพระ
   เด็กชายจักรวัชรชอบแกล้งเพื่อนในห้องเรียน
   เด็กหญิงฟางส่งภาพเข้าประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศ

ข้อที่ 30)
30. บุคคลใดที่ควร “บูชา” คือบุคคลเช่นใดในข้อต่อไปนี้
   บุคคลทำดีมากมายแต่มาทำชั่วเพียงครั้งเดียว
   บุคคลที่เคยทำชั่วแต่สำนึกผิดแล้วกลับมาทำดี
   บุคคลที่มีเงินจากการทุจริตแล้วนำมาทำบุญกุศล
   บุคคลที่มีอำนาจมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ในสังคม


วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มูลเหตุของการเกิดศาสนา

       มูลเหตุของการเกิดศาสนา

1. ความไม่รู้ (อวิชชา) หมายถึง ความไม่รู้ในเหตุผลของสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทำให้มนุษย์เชื่อว่าเป็นการกระทำของอำนาจอันลึกลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดความเชื่อทางศาสนา
การบูชาบรรพบุรุษ เกิดจากความเชื่อว่าวิญญาณมีอยู่แล้ว อวิชชาในเรื่องวิญญาณนี้เป็นพื้นฐานของศาสนาทั่ว ๆ ไป เรียกความเชื่อในลักษณะนี้ว่า วิญญาณนิยม (Animism)


2. ความกลัว สาเหตุที่มนุษย์เกิดความหวาดกลัว มาจากความไม่รู้เบื้องต้น เช่น กลัวภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฯลฯ มนุษย์ไม่สามารถหาคำตอบให้ตนเองได้ จึงเกิดความกลัวตามสัญชาติญาณ ดังนั้น จึงต้องการหาที่พึ่งทางจิตใจและเพื่อไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น จึงต้องทำพิธีบวงสรวงให้เป็นที่พอใจของเทพเจ้าต่าง ๆ ทำให้เกิดพิธีกรรมของศาสนาตามมา

3. ความต้องการที่พึ่งทางใจ มนุษย์ต้องการขจัดความทุกข์ทรมาน ความโหดร้ายของภัยธรรมชาติ จึงคิดหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เกิดความเชื่อในพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้างก็ต้องการศูนย์รวมกำลังใจในการต่อสู้กับศัตรูของเผ่าอื่น ๆ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษ และเทพเจ้าประจำเผ่าต่าง ๆ เป็นต้น

4. ความต้องการความสงบสุขของสังคม มนุษย์คิดค้นศาสนาขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือจัดระเบียบสังคมให้มีความสงบสุข ป้องกันมิให้มนุษย์เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

5. ความต้องการรู้แจ้งในสัจธรรม ศาสนาบางศาสนา เกิดจากการใช้ปัญญาแสวงหาสัจธรรมหรือความจริงในชีวิตมนุษย์ เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์และมีหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ดังจะเห็นได้จากการเกิดของพระพุทธศาสนา

6. ความเลื่อมใสศรัทธาและความจงรักภักดี มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดความเชื่อจากบรรพบุรุษให้เคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวรูป เทพเจ้า ฯลฯ เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่ชีวิตและได้วิวัฒนาการกลายมาเป็นศาสนาในที่สุด

7. ความยกย่องบูชาบรรพบุรุษและบุคคลสำคัญ การบูชาบรรพบุรุษประจำเผ่าและชนชาติของตน ที่เรียกว่า “ลัทธิบูชาผีบรรพบุรุษ” (Hero Worship) ซึ่งได้กลายเป็นเทพเจ้าในเวลาต่อมา
มูลเหตุของการเกิดศาสนาที่สำคัญ คือ ความกลัว เนื่องจากมนุษย์ต้องการความสุขและความปลอดภัยในชีวิต จึงต้องแสวงหาสิ่งที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองชีวิตของตน ทำให้เกิดศาสนาขึ้นในโลก

องค์ประกอบของศาสนา

     องค์ประกอบของศาสนา
๑. ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนาคริสต์มีพระเยซูเป็นศาสดา
๒. คัมภีร์ คือ หลักธรรมคำสั่งสอน เช่น พระพุทธศาสนามีพระไตรปิฎก ศาสนาคริสต์มีคัมภีร์ไบเบิล
๓. สาวก คือ ผู้เผยแผ่หรือผู้ปฏิบัติตาม เช่น พระพุทธศาสนามีพระภิกษุและพุทธบริษัท ๔ ศาสนาคริสต์มีบาทหลวง
๔. ศาสนสถาน คือ สถานที่ประกอบพิธีกรรม เช่น พระพุทธศาสนามีวัด ศาสนาคริสต์มีโบสถ์
๕. พิธีกรรม คือ การปฎิบัติพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พระพุทธศาสนามีการเวียนเทียน ศาสนาคริสต์มีพิธีการล้างบาป
๖. สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายแทนศาสนานั้น ๆ เช่น พระพุทธศาสนามีเสมาธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ ศาสนาคริสต์มีไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)




เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์

*************************************************************
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
*************************************************************
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
*************************************************************
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
*************************************************************
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
*************************************************************
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
*************************************************************
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
*************************************************************
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
*************************************************************
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
*************************************************************
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
 *************************************************************